+6680-992-6565
  • KPI&BSC
    key Performance Indicators Intelligence
        เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานหรือประเมินผลการดำเนิน
    งานในด้านต่างๆ ของพนักงาน ซึ่งสามารถแสดงผลการวัดหรือ
    ประเมินผลการวัดในรูปข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อสะท้อนประสิทธิภาพ
    ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
    Balanced Scorecard (BSC)
         เป็นเครื่องมือจัดการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยการกระจาย
    มุมมองด้านธุรกิจลงสู่ตัวชี้วัดเพื่อวัดผลพนักงานและใช้เทคนิค
    BSC เพื่อวิเคราะห์องค์กร คือการนำข้อมูลผลประเมินจาก
    ตัวชี้วัดของพนักงานนำมาวิเคราะห์สู่ระดับองค์กร ผู้บริหารมองเห็น
    ถึงปัญหาแต่ละด้าน สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและ
    ยืนอยู่บนความสมดุลอย่างมีประสิทธิภาพ
    สร้างความเป็นธรรม ลดอคติ ประเมินตามจริง
    เชื่อมโยงกลยุทธ์ สอดคล้องเป้าหมาย

  • ดึงข้อมูลจากหลากหลายแหล่งไม่ว่าจะเป็น Database หรือ ไฟล์ Excel โดยใช้ระบบ ETL เพื่อดึงข้อมูลมาประเมิน เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประเมิน เพื่อสร้างระบบความเป็นธรรมโดยใช้ผลงานตามจริงในการประเมิน.
  • KPI บางข้อยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลอาจใช้วิธีการแบบ Manual ในการประเมินก็ได้.
  • จัดการกำหนดค่าเริ่มต้นด้วยระบบ Back office เช่น กำหนด KPI, กำหนดระยะการประเมิน, กำหนด Baseline, มอบหมาย KPI ให้พนักงาน เป็นต้น.
  • นำข้อมูลที่ได้นำมาแสดงเป็นกราฟเพื่อให้ง่ายในการดูข้อมูลโดยแสดงผลเป็น Dashboard.
  • ผู้บริหารสามารถดูข้อมูลภาพรวมได้ทุกแผนก รวมถึงภาพรวมของบริษัท.
  • หัวหน้าแผนกสามารถดูข้อมูลภาพรวมได้เฉพาะแผนกของตัวเอง.
  • พนักงานดูข้อมูลได้เฉพาะข้อมูลตัวเอง เพื่อนำไปพัฒนาตัวเองในลำดับต่อไป.
  • สามารถนำข้อมูล KPI ของพนักงานออกรายงานเพื่อเป็นเอกสารในการพิจารณาการประเมิน.

สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานที่มี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานที่สำคัญขององค์กร และดัชนีชี้วัดกิจกรรมหรืองานที่สำคัญซึ่งหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในองค์กรหรือหน่วยงาน ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดทั้งที่เป็นด้านการเงิน และดัชนีชี้วัดไม่ใช่ด้านการเงิน ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล ต้องมีบุคคลหรือหน่วยงานรับผิดชอบดัชนีชี้วัดทุกตัวที่สร้างขึ้น ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมินผลงาน ตัวดัชนีชี้วัดที่ดีจะต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร

กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (What to measure) กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต (Key Success Factor or Critical Success Factor) ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ เช่น ปัจจัยด้านคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน การส่งมอบ ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และการเพิ่มผลผลิต กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (How to measure) ซึ่งสามารถแสดงเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว เช่น ชื่อของดัชนีชี้วัดคำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด สูตรในการคำนวณ หน่วยของดัชนีชี้วัด ผู้เก็บข้อมูล ความถี่ในการรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องใรการนำดัชนีชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน

ความพร้อมของข้อมูล ประเมินว่าดัชนีชี้วัดแต่ละตัวมีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ ความถูกต้องของข้อมูล ประเมินว่าข้อมูลที่มีอยู่่ของดัชนีชี้วัดแต่ละตัวเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นข้อมูลในปัจจุบันหรือไม่ ต้นทุนในการจัดหาหรือจัดเก็บข้อมูล ประเมินว่าการหาหรือเก็บข้อมูลสำหรับดัชนีชี้วัดแต่ละตัวใช้ต้นทุนมากน้อยเพียงใด และคุ้มค่าหรือไม่ ความชัดเจนของดัชนีชี้วัด ประเมินว่าดัชนีชี้วัดแต่ละตัวมีความชัดเจนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันหรือไม่ ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวสะท้อนให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงหรือไม่ หรือแสดงให้เห็นสิงที่ต้องการจะวัดจริงหรือไม่ สามารถนำดัชนีชี้วัดไปใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นหรือผลการดำเนินงานในอดีตได้หรือไม่ ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวสัมพันธ์กับดัชนีชี้วัดอื่นในเชิงเหตุและผลหรือไม่

ผู้บริหารขาดความมุ่งมั่นในการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน การกำหนดดัชนีชี้วัดและค่าเป้าหมายที่มีความลำเอียง ดัชนีชี้วัดแต่ละตัวไม่อยู่บนพื้นฐานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลของดัชนีชี้วัดไม่เหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้สำหรับการชี้นำหรือบ่งบอกเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ไม่มีการนำข้อมูลที่ได้จากดัชนีชี้วัดมาประกอบการบริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในการสร้างดัชนีชี้วัดส่วนใหญ่เน้นที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการในการสร้างดัชนีชี้วัด

ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการสร้างดัชนีชี้วัด ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์รวบรวม ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผล และกระตุ้นเตือนผู้รับผิดชอบดัชนีชี้วัด กำหนดเงื่อนไขการให้คะแนนดัชนีชี้วัดแต่ละตัวให้อยูบนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นได้ ประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดในการบริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงผลงานที่ได้จากดัชนีชี้วัดกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน อ้างอิงจาก http://www.na-vigator.com

    ในมุมมองธุรกิจ
  • สามารถกำหนดตัวชี้วัดที่หลากหลายและครอบคลุมงานหลักได้
  • การประเมินผลงานจะง่ายขึ้น เพราะประเมินตามตัวชี้วัดหลัก และมีมาตรฐานการวัดที่ชัดเจน
  • เป็นการตรวจสอบว่า ผลงานรายบุคคล สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร
  • สามารถนำไปปรับปรุงมาตรฐานการทำงาน บุคคล องค์กรเพื่อมี Productivity สูงขึ้น
  • นำไปใช้ประกอบการปรับแผนปฏิบัติการและกลยุทธ์ต่างๆ
  • เพื่อปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานภายใน (Internal Business) เพื่อพัฒนาแนวทางธุรกิจ นโยบาย ด้านบุคคล ให้ตอบสนองความพึงพอใจลูกค้าให้เพิ่มขึ้น (Customer Satisfaction)
  • ลดต้นทุนในการเตรียมข้อมูลไม่ว่าจะเป็นบุคคลากร หรือเวลาในการจัดทำ KPI

    มุมมองการบริหารบุคคล
  • ทำให้พนักงานทราบว่า ตนเองต้องทำงานให้เกิดผลลัพธ์สุดท้ายหรือทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อะไร
  • เพื่อทราบถึงศักยภาพของพนักงานในการปฏิบัติงาน
  • นำข้อมูลมาใช้การพัฒนาพนักงาน และการจัดหน้าที่งานให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานและบุคคล
  • เพื่อใช้ผลการประเมินในการปรับค่าจ้างและโบนัสประจำปี
  • เพื่อสร้างระบบความเป็นธรรมให้เกิดกับพนักงานเพื่อให้ผลประกอบการของบริษัท หรือผลการเงิน (Fnancial) บรรลุเป้าหมาย หรือขยับเป้าหมาย
  • เกิดความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร

  • องค์กรที่ต้องการจัดทำผลประเมินบุคลที่รวดเร็ว ลดอคติในการประเมิน ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดเวลาการเตรียมเอกสาร.
  • บริษัท ห้างร้านทั่วไปที่มีพนักงาน 10 คนขึ้นไป.
  • หน่วยงานราชการ เช่น โรงพยาบาล, อบต, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย เป็นต้น.
  • งานด้านบริการ เช่น โรงแรม เป็นต้น.
  • โรงงานอุตสาหกรรม.

แพคเกจ พนักงาน ราคา/เดือน ราคา/ปี
แพ็กเกจ D 10 คน 299/เดือน 2,990/ปี
แพ็กเกจ C 15 คน 399/เดือน 3,990/ปี
แพ็กเกจ B 30 คน 699/เดือน 6,990/ปี (แนะนำ)
แพ็กเกจ A 50 คน 999/เดือน 9,990/ปี